สมเด็จพระแก้วมณีโชติ…..(๓)

พระครูศีลสารสัมบัน
พระครูศีลสารสัมบัน

ในปี พ.ศ. 2514 พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ทราบว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นพระเถราจารย์ที่เก็บสะสมมวลสารไว้มาก จึงได้กราบอาราธนานิมนต์ให้ ท่านพระครูศีลสารสัมบันเป็นแม่งานรับผิดชอบในการจัดสร้างพระเครื่องชนิดผง และดินผสมผงเก่า เพื่อใช้ในการพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ตามความเห็นของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร

มวลสารสำคัญ

การจะจัดพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก พ.ศ. 2515 ขึ้นมาได้นั้นมิใช่เพียงมีแต่พระเกจิอาจารย์มาเจริญจิตภาวนามากมายแต่เพียง อย่างเดียวเท่านั้น มวลสารสำหรับใช้พิมพ์พระก็ต้องเข้มขลังมากด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน สำหรับมวลสารและผงที่ใช้พิมพ์พระเครื่องรุ่น 15 (พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก) ทุกองค์เป็นมวลสารสูตร “มหาจักรพรรดิ ๑๕” พระครูศีลสารสัมบัน อันประกอบไปด้วย

  • เกสรดอกไม้ และผงธูป
    • วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร
    • วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
    • วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
    • วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    • วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม
    • วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
    • วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
    • วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเฉา
    • วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม
    • วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี
  • ทองคำเปลวและรัก
    • พระพุทธชินราชจำลองหน้าพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
    • พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเฉา
    • เจดีย์ดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
    • เจดีย์หริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
    • วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี
  • ผงมวลสารส่วนพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
  • ผงมวลสาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  • ผงมวลสาร พระหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
  • ผงมวลสาร วัดเทพากร กรุงเทพมหานคร
  • ผงมวลสาร พ.ศ. 2506 วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร
  • ผงมวลสาร 25 พุทธศตวรรษ
  • พระนางพญากรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แตกหัก
  • พระนางพญากรุ วัดนางพญา พิษณุโลก แตกหัก
  • ผงมวลสารหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
  • แร่แก้วผลึก หินแก้วผลึกใส จากเหมืองแร่ลำปาง
  • งาช้าง และเขี้ยวเสือไฟ
  • ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง
  • ว่าน 108 ชนิด
  • ผงใบลานและสมุดข่อยโบราณ
  • อิฐ
    • พระอุโบสถเก่า วัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก
    • กำแพงเมืองพิษณุโลก
    • พระราชวังจันทร์ พิษณุโลก
    • พระวิหารพระอัฏฐารส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
  • พระกรุแตกหักวัดสระแก้วปทุมทอง พิษณุโลก
  • ผงตะไบพระกริ่งและผงพระสมเด็จ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  • ผงพระสมเด็จแตกหัก วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  • ผงพระสมเด็จแตกหัก วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) กรุงเทพมหานคร
  • พระพุทธรูป แตกหักจากทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก
  • จาน ชาม เครื่องสังคโลก จากกรุเมืองเก่าสุโขทัย
  • แผ่นนพเก้า (โมเสก) ติดพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
  • ดินสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย
  • ใบต้นศรีมหาโพธิ์พุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหารประเทศอินเดีย
  • น้ำสรงพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร
  • น้ำสรงพระแสงดาบวัดตูม จังหวัดพิษณุโลก
  • น้ำอภิเษกประจำจังหวัดพิษณุโลก จากสระแก้ว ทะเลแก้ว และสระสองห้อง
  • ดินปากแม่น้ำ
    • แม่น้ำเจ้าพระยา
    • แม่น้ำบางประกง
    • แม่น้ำปัตตานี
    • แม่น้ำตาปี
    • แม่น้ำมูล
  • ดินพระนคร 5 พระนคร หรือ เบญจนครา
    • พระนครศรีอยุธยา
    • เมืองพระพิษณุโลก
    • เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
    • เมืองนครศรีธรรมราช
    • กรุงเทพมหานคร หรือ กรุงรัตนโกสินทร์

รวมทั้งหมด 108 ชนิด มวลสาร จึงได้ชื่อว่า มหาจักรพรรดิ เพราะเต็มไปด้วยมวลสารสำคัญทั่วทั้งประเทศมารวมไว้ที่พระเครื่องพิธี จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ปี 2515 ทั้งสิ้นและสูตรในการผสมยังเป็นความลับ ทั้งไม่มีพิธีใดๆจะลอกเลียนแบบได้เหมือนสูตรมหาจักรพรรดินี้ได้เลย โดยมวลสารและผงทั้งหมดนี้ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน ได้ธุดงค์ จาริกแสวงบุญ รวบรวมมาเรื่อยตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง บางครั้งก็มีพระผู้ใหญ่หรือฆราวาสที่ท่านพระครูศีลสารสัมบัน รู้จักมักคุ้นก็จะนำมาฝากหรือถวายจนมีมากมายหลากหลายชนิดมวลสารสาธยายทั้ง สิ้นก็ไม่อาจจะกล่าวได้หมด ดั่งคำกล่าวที่ว่า “สาธยาย 3 วันก็ไม่จบ มันเยอะจริงๆ” อาจารย์บุญสม ทั่งมั่งมี อดีตเลขาธิการท่านพระครูศีลสารสัมบัน

การสร้างพระพิมพ์ทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น ไม่มีคฤหัสถ์หรือฆราวาสคนใดได้จับหรือแตะต้อง มีเพียงพระภิกษุและสามเณรที่ปลงอาบัติและต่อศีลจนบริสุทธิ์ครบถ้วนแล้วเท่า นั้นที่ช่วยกันบดผงด้วยครกเหล็กและกดพิมพ์พระจนบริบูรณ์ ขั้นตอนการจัดสร้าง

  • ท่านพระครูศีลสารสัมบัน จะคำนวณฤกษ์ยาม วันเวลา ในการกดพิมพ์พระ 9 องค์แรกก่อน
  • การผสมผงมวลสารร้อยละ 80 จะเป็นมวลสารดินก้นกรุ วัดนางพญา พิษณุโลกเป็นมวลสารหลัก แล้วจึงผสมมวลสารเฉพาะแต่ละชนิดไปตามแต่ท่านพระครูศีลสารสัมบัน จะเห็นสมควร ในการผสมผงทั้งหมดมีแต่ท่านพระครูศีลสารสัมบันเท่านั้นที่เป็นผู้ผสมผงพระ เข้าด้วยกันตามสูตรของท่านเอง
  • น้ำที่ใช้ในการผสมมวลสารประกอบไปด้วย
    • น้ำสรงพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร
    • น้ำสรงพระแสงดาบวัดตูม พระนครศรีอยุธยา
    • น้ำอภิเษกประจำจังหวัดพิษณุโลก จากสระแก้ว ทะเลแก้ว และสระสองห้อง
    • น้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย
    • น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางประกง แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี และแม่น้ำมูล
    • น้ำทะเลชุบศร จ.ลพบุรี
    • น้ำสระพระพายหลวง จ.สุโขทัย
    • น้ำสระเมืองกำแพงเพชร
    • น้ำสระเมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ์
    • น้ำสระเมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน
  • การปั้นก้อนมวลสาร สามเณรจะเป็นผู้ปั้นก้อนมวลสารตามขนาดที่ท่านพระครูศีลสารสัมบันต้องการ และพระภิกษุจะเป็นผู้กดพิมพ์พระทั้งหมด
  • เมื่อกดพิมพ์เสร็จแล้วจะมีพระแผนกตรวจสอบคุณภาพว่าพระเครื่องที่จัด สร้างถูกต้องตามพิมพ์ หรือไม่ หากถูกต้องก็จะนำไปตากแดดให้แห้ง หากไม่สมบูรณ์ก็จะนำไปตำและกดพิมพ์ใหม่
  • เมื่อตากแดดจนแห้งแล้วก็จะนำไปใส่หม้อดิน และนำไปเผาที่โรงหล่อ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์

ในการเผาพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชตินั้น ที่โรงหล่อพระนั้น ท่านพระครูศีลสารสัมบัน และพระเลขานุการควบคุมดูแลการเผาตลอดเวลา ในการเผาและอบพระนั้น จะนิมนต์พระสงฆ์เจริญชัยมงคล ตลอดระยะเวลาในการเผาพระทุกครั้ง เ มื่อครั้งเผาพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ ได้เกิดปาฏิหาริย์ คือ พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินผสมผงทั้งหมดจากเนื้อสีเดียวกัน กลายเป็นพระที่มีสีแตกต่างกันถึง 8 สี แม้จะเป็นผงเดียวกันและหม้อเดียวกัน หรือกระทั่งผสมใหม่และเผาใหม่ก็เป็นเช่นเดิม โดยแบ่งเป็น

  • พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินผสมผง พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ มีทั้งหมด 8 สี เรียกกันว่า พระอรหันต์ 8 ทิศคือ
    • สีดำเงา ชื่อ สีพระองค์ดำ แทน พระอัญญาโกญฑัญญะ อยู่ทางทิศบูรพา (ตะวันออก)
    • สีขาว ชื่อ สีพระองค์ขาว แทน พระมหากัสสปะ อยู่ทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
    • สีอิฐ ชื่อ สีกำแพงพระนคร แทน พระราหุล อยู่ทางทิศอิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
    • สีอรุณ ชื่อ สีทองคำเปลว แทน พระอุบาลี อยู่ทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)
    • สีคราม ชื่อ สีน้ำเบญจมหานที แทน พระภควัมปติ อยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
    • สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ชื่อ สีเกสรดอกไม้ แทน พระอานนท์ อยู่ทางทิศปัจฉิม (ตะวันตก)
    • สีเทา ชื่อ สีช้างเผือก แทน พระโมคคัลลานะ อยู่ทางทิศอุดร (เหนือ)
    • สีน้ำตาล ชื่อ สีผงใบลาน แทน พระสารีบุตรอยู่ทางทิศทักษิณ (ใต้)
  • พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อผง พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ สีขาว เป็นเนื้อเดียวกันกับพระพุทธชินราชใบเสมา รุ่นปี 2515 เนื้อผง แต่ที่พิเศษกว่า คือ จะได้มวลสารสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จวัดบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ที่แตกหักผสมไว้จำนวนมากและเป็นมวลสารที่บริสุทธิ์กว่าพระชนิดอื่น จนมีผู้เล่าว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบันเป็นผู้กดพิมพ์พระเองเสียด้วยซ้ำ ซึ่งจัดสร้างไว้จำนวนน้อยมาก คำนวณนับได้ไม่ถึง 100 องค์ เพราะมวลสารสำหรับพิมพ์พระมีน้อย ดังเช่น พระพุทธเจ้า อันเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก จึงแทน “องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

โดยพระทุกองค์ท่านพระครูศีลสารสัมบันจะคัดเลือกและขัดเงาด้วยตัวท่านเอง ทั้งยังแยกประเภทชั้นและชนิดของพระออกเป็น ชั้นเยี่ยม ชั้นดี และชั้นพอใช้ และลงจำนวนบัญชีพระที่ท่านพระครูศีลสารสัมบันคัดเลือกเองไว้ซึ่งชุดนี้ไม่ เคยแจกหรือเปิดให้เช่าบูชาที่ใดมาก่อน

โดยพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ แบ่งออกเป็น

  1. พิมพ์ใหญ่ รวม 1,760 องค์ (รวมที่ชำรุดด้วย)
    1. สีดำชั้นเยี่ยม 120 องค์
    2. สีขาวชั้นเยี่ยม 66 องค์
    3. สีขาวเนื้อผงกรุ 10 องค์
    4. สีอิฐและสีอรุณ 400 องค์
    5. สีน้ำตาลและสีเทา 559 องค์
    6. สีดำ 300 องค์
    7. เนื้อผง 59 องค์
    8. แตกน้ำมัน 138 องค์
    9. ชุดอรหันต์แปดทิศชุด ละ 9 องค์ 12 ชุด
  2. พิมพ์เล็ก รวม 3,190 องค์ (รวมที่ชำรุดด้วย)
    1. สีดำ 725 องค์
    2. สีแดง 210 องค์
    3. ชั้นดี 1,619 องค์
    4. รวม 606 องค์
    5. ผงกรุ 17 องค์
    6. เนื้อผง 13 องค์

รวมทั้งสิ้น 4,950 องค์ (รวมที่ชำรุดด้วย)

ดังนั้นพระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ ที่ท่านพระครูศีลสารสัมบันคัด แยกด้วยตัวท่านเองจึงมีเพียง 4,950 องค์เท่านั้น และได้นำใส่กล่องกระดาษและกล่องพลาสติกบรรจุไว้ใต้ฐานพระประธานอุโบสถของวัด สระแก้วปทุมทองแห่งเดียว นอกจากนั้นถูกนำใส่ถุงยาม ถุงละประมาณ 500 – 1,000 องค์ไปบรรจุไว้ในช่อฟ้าศาลาการเปรียญ และพระวิหารพระพุทธศิลามงคล ซึ่งเป็นชั้นหรือชนิดพอใช้และไม่ได้ตั้งใจคัดแยก

พิมพ์สีต่างๆ…เอกลักษณ์พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผง
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผง

เนื้อผง แก่เนื้อผงสมเด็จวัดระฆังฯและวัดบางขุนพรหม

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อผง พิมพ์ตลก
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อผง พิมพ์ตลก

เนื้อผง พิมพ์ตลก แก่เนื้อผงสมเด็จวัดระฆังฯและวัดบางขุนพรหม “พิมพ์ตลก” ออกจากกรุมีเพียง 10 องค์ นอกกรุเห็นว่า มีเพียง 30 องค์เท่านั้น เกิดจากการสับสนขณะกดพิมพ์ของพระหรือสามเณร ที่นำเนื้อผงไปกดลงในบล็อกเนื้อดิน เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพระพิมพ์ใหญ่ชนิดนี้เพียงชนิดเดียว

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อขาวชั้นเยี่ยม
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อขาวชั้นเยี่ยม

เนื้อสีขาวชั้นเยี่ยม แก่เนื้อผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิดจากวัดสำคัญทั่วทั้งประเทศ มีจำนวนเพียง 66 องค์เท่านั้น(รวมที่ชำรุดด้วย)

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อดำชั้นเยี่ยม
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อดำชั้นเยี่ยม

เนื้อสีดำชั้นเยี่ยม แก่เนื้อผงตะไบพระกริ่งวัดสุทัศนเทพวราราม(พระชินราชอินโดจีน) พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย นำมาถวาย

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อแดงสีอิฐ
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อแดงสีอิฐ

เนื้อสีอิฐ แก่เนื้อดินก้นกรุนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นชนิดที่ดังเมื่อปี พ.ศ. 2517 เนื่องจาก พลเอกสำราญ แพทยกุล องคมนนตรี นำไปแจก อ.ส. 100 นาย และ อ.ส.บุญเพ็ง เทียนแก้วถูกยิงไม่เป็นอะไร

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อเทา_
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อเทา

เนื้อสีเทา แก่เนื้อผงใบลานและสมุดข่อย(ชำรุด)กรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้รับจากผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย อาทิเช่น กรมศิลปากร พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย

พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อแตกน้ำมัน
พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ พิมพ์ใหญ่เนื้อแตกน้ำมัน

เนื้อแตกน้ำมัน แก่น้ำมันว่าน 108 ชนิด ผสมกับน้ำมันตังอิ๊ว โถน้ำมันว่านที่แตกใต้ฐานพระประธานอุโบสถ ถูกกับพระพิมพ์ชนิดสีเทา สีอิฐ และเนื้อผง มีจำนวนเพียง 138 องค์เท่านั้น(รวมที่ชำรุดด้วย)

เนื่องจากยังมีรายละเอียดอีกในพระพิมพ์ที่บรรจุ ซึ่งคัดพระพิมพ์ที่ติดครบ จึงขอนำไปเขียนในกระทู้ถัดไป

สมเด็จพระแก้วมณีโชติ…..(๑)
สมเด็จพระแก้วมณีโชติ…..(๒)
สมเด็จพระแก้วมณีโชติ…..(๔)
สมเด็จพระแก้วมณีโชติ…..(๕)

Leave a comment