แบบนี้ก็ไม่ใช่ของครูบานันตา…

ยิ่งนานวันเข้ายิ่งพบเห็นกะลาแกะรูปร่างการแกะแบบแปลกตา ศิลป์แบบที่ไม่เคยเห็น รอยจารที่ยังแค่ใกล้เคียงแต่ยังไม่ใช่ ถูกนำมาโปรโมท ถูกนำมาปั่น ถูกนำมาทำให้เชื่อว่าใช่ บนมาตรฐานความลวงที่สร้างขึ้นเอง .เมื่อวัตถุมงคลมีราคาในการเปลี่ยนมือเพิ่มขึ้น ของเลียนแบบก็ย่อมถูกยิงมามากขึ้น นับวันการทำของเลียนแบบมีฝีมือมากขึ้น ตามความชำนาญของผู้ทำ.ในการดูกะลาแกะครูบานันตานั้น ศิลป์ของราหูนั้นอาจแตกต่างกันไปตามช่างหรือคนแกะ สวยบ้าง ไม่สวยบ้าง มีเพียงสิ่งเดียวที่ผู้นิยมสะสมกะลาครูบานันตาบอกกล่าวเสมอคือ…รอยจารด้านหลังต้องลายมือของครูบานันตาผู้เดียวเท่านั้น จากแหล่งข้อมูลที่ได้อ่านมาผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทันเห็นการสร้างบอกไว้ว่า ครูบาท่านยอมให้คนอื่นช่วยแกะราหู แต่ท่านจะจารอักขระเพียงผู้เดียวเท่านั้น ดังนั้นการจดจำลักษณะอักขระจึงจำเป็นในการจำแนกแยกของเลียนแบบจากของจริง. ในวงการพระเครื่องลำปางต่างรู้ดีว่า … More

กะลาแบบนี้ครูบานันตา..เคยสร้างจริงหรือ

  ในวงการพระเครื่องนั้น มีบางเรื่องที่คนผู้มีความรู้ดีไม่จำเป็นก็ไม่อยากต้องเปลืองตัวออกมาคัดค้านความเชื่อแบบลับลวงพรางของคนอีกกลุ่มหนึ่ง พี่ท่านหนึ่งที่ผมสนิทด้วยพูดแบบเปรยขึ้นมาหลังจากผมแหย่ถามไปว่ากะลาแกะจิ๋วครูบานันตาท่านทำจริงหรือ ขนาดกะลาใบใหญ่ๆก็รีบทำจนศิลป์ไม่ได้สวยอะไรมาก กะลาจิ๋วครูบาจะเอาเหล็กขนาดไหนไปทำ ครูบาท่านก็สูงวัยขนาดนั้น ตาท่านจะดี มือท่านจะนิ่งขนาดจารกะลาใบจิ๋วได้หรือ…….พี่ก็ตอบแบบเหมือนไม่อยากตอบว่า…ตั้งแต่ผมรู้จักกะลาครูบานันตามาก็เกือบยี่สิบปี กะลาก็ไม่เห็นทะลักเข้ามาสนามมากเหมือนปีสองปีนี้ แถมเก๊รู้ไหมคนทำอยู่ไหน พี่จะพาไปดูก็ได้ เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาได้ดีขึ้นมากเลย ก็อย่างที่บอกว่าของบางอย่างที่เชียร์กัน ช่วยกันปั่นนั้นก็ไม่เคยเป็นของๆพระเกจิรูปนั้น เพียงเราไปกำหนดว่ามันใช่และมันมีมูลค่าเมื่อเปลี่ยนมือเท่านั้น อย่างกะลาจิ๋วพี่ก็เพิ่งมีบุญตาเห็นเป็นครั้งแรกก็ช่วงนี้แหละ และถ้าอยากได้คู่สวยๆก็มีคนรอแกะให้ได้ เอาเหมือนแค่ไหน คนแกะจัดให้ได้.ผมก็เลยถามต่อว่า … More

ดูกะลาให้ดี…คล้ายแต่ไม่ใช่

ตั้งแต่ราคาเปลี่ยนมือของราหูกะลาแกะครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ ได้ขยับตัวจากหลักพันปลายๆเมื่อสามปีก่อน พุ่งพรวดมาเป็นหลักหมื่น จนปัจจุบันคู่สวยๆเปิดราคากันแสนต้นๆมาแล้วก็มี เท่าที่ผมจำความได้ราหูกะลาแกะนั้นเริ่มมีคนนิยมสะสมจากหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นครปฐม จนแพงขึ้นเรื่อยๆก็มีนักสะสมย้อนกลับไปหาดูว่าหลวงพ่อน้อยว่าได้วิชามาจากไหน จนสืบความมาจบที่ครูบานันตา หรือหลวงพ่อคำอ้าย วัดทุ่งม่านใต้ จึงยกให้ว่าเป็นกะลาราหูแกะของอาจารย์หลวงพ่อน้อย จึงเริ่มมีการเช่าหา เสาะหากันนับแต่บัดนั้น…..เมื่อราคากะลาแกะราหูขยับตัวมากขึ้น มีการเสาะหามากขึ้น จึงเกิดสิ่งตามมาสองอย่างมาเป็นธรรมดาของโลก คือหนึ่ง ของเก๊ที่มีกระจายในสนามมากขึ้น และสอง … More

***ตะกรุดสาริกาเนื้อเงิน ครูบานันตา วัดทุ่งมานใต้ ลำปาง***

ความจริงผมก็ไม่กล้าเล่นตะกรุดแต่ดูความเก่าของเชือกแล้วมันเก่าดี และที่มาพอน่าเชื่อถือได้…ตะกรุดเนื้อเงินชุดนี้ต่างจากของทางภาคกลางที่ สร้างแค่คู่เดียว แต่ครูบานันตาท่านสร้างถึงเจ็ดคู่ สิบสี่ดอก ตามจำนวนวันเจ็ดวัน….ติได้ชมได้ครับ เจ้าของเดิมเป็นคนแก่บ้านอยู่ติดวัดทุ่งมานใต้ ลุงเขาบอกว่าได้มากับมือ ส่วนคนที่เอามาได้เป็นพี่คนหนึ่งที่ได้เคยช่วยเหลือลุงคนนี้ตอนลำบาก ลุงเลยให้มา สุดท้ายถูกคนที่เล่นพระกับผมตีออกมาหลังจากตามอยู่เป็นปี เจ้าของเก่านั้นตอนแรกหวงเล่นห้อยติดคอ ตื้ออยู่นาน แล้วอยู่ๆอาทิตย์ที่ผ่านมาแค่ถามเล่นๆแกเปิดราคาก็เลยคว้าไว้ก่อนครับ…. ไม่ค่อยมาตราฐานเพราะไม่เคยมีของให้เทียบครับ เล่นแค่ชอบครับ….

กะลาแกะครูบานันตา(5)…ศิลป์คนละแบบคนละฝา

ได้มาจากเจ้าของคนเดียวกัน บอกว่าได้มาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อนสมัยนั้นราคาค่างวดก็ไม่รู้ เพราะได้มาฟรี…อยู่ในคอตลอด เพิ่งใจอ่อนปลดออกมาครับ…. แม้จะเป็นศิลป์การแกะคนละแบบ แต่ด้านหลังความเก่านั้นดูง่าย และดูลายมือจารชัดๆ… แม้จะต่างศิลป์การแกะด้านหน้าแต่ลายมืออักขระยังเหมือนกันครับ… ของเก๊นั้นแหล่งหาซื้อนั้นคนเล่นพระในลำปางรู้ดีว่าหาซื้อได้ที่ไหน ใครเป็นคนทำ ลายมือใกล้แค่ไหน ว่ากันว่าของเก๊หาได้คู่ละสองพัน ไม่เกินสี่พัน เอาแบบใกล้ๆก็มีหาได้.. วันก่อนเล่นกันแรง เอามายิงกันหน้าแผงพระของคนรู้จักกับผม ยิงเสร็จแต่ไม่โดน เพราะคนนี้เล่นมานานตั้งแต่กะลาคู่ละสองร้อย … More

กะลาแกะครูบานันตา…..(4)

ยืนยันว่ากะลาทุกใบผ่านการดูจากผู้มีประสบการณ์ในท้องถิ่นหลายท่าน ตามาตรฐานการเล่นหาในท้องถิ่น ภาพนี้เป็นภาพชุดสุดท้าย อยู่ในหน้า 160 ถึง 162

ภาพกะลาครูบานันตา…เกริ่นนำ

ภาพกะลาครูบานันตาทั้งหมดนั้น เป็นภาพที่นำมาจากหนังสือรางวัลงานประกวดพระเครื่องและวัตถุมงคล เมื่อ 7-8 เม.ย. 2550 โดย กลุ่มอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชาล้านนาไทย จ.ลำปาง การนำภาพกะลาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ควรได้รับการอนุญาตจากเจ้าของกะลาทุกใบ และเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือ.การนำมาเขียนกระทู้นี้เป็นการเผยแพร่ในเชิงการศึกษาเท่านั้น